วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

วาฬเบลูก้า

                                                                       วาฬเบลูก้า
ชื่อสามัญ : Beluga Whale, White Whale
ชื่ออื่นๆ : วาฬเบลูกา, วาฬสีขาว, หมูสีขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Delphinapterus leucas (Pallas, 1776)

Class : Mammalia

Order : Cetacea

Family : Monodontidae




ลักษณะทั่วไป :
วาฬเบลูกาถือว่ามีขนาดตัวเล็กมากเมื่อเทียบกับวาฬชนิดอื่นๆ เมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ เจ้าเบลูกาน้อยมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร และหนักเพียงประมาณ 80 กิโลกรัมเท่านั้น ก่อนจะเติบโตตัวยาวได้ประมาณ 5 เมตร ซึ่งตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หนักได้ประมาณ 1,360-1,500 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียหนักได้ประมาณ 900 กิโลกรัม สำหรับสีสันบนลำตัวจะค่อยๆ จางลงจากสีเทาเข้มเป็นสีขาวบริสุทธิ์ไปตามวัย ตัวเมียจะเป็นสีขาวเมื่ออายุราว 7 ปี ส่วนตัวผู้เป็นสีขาวเมื่ออายุได้ประมาณ 9 ปี

มีอายุขัยเฉลี่ย 25-30 ปี
เมื่อโตเต็มที่ฟันของมันก็จะมีสีขาวด้วย มีรูปร่างอ้วน หัวทู่ มีสันจมูกมีกะโหลกศีรษะที่กลมมน มีรูพ่นน้ำ 1 รู Beluga เป็นภาษารัสเซีย มีความหมายว่า ขาวเท่านั้น เป็นวาฬที่ไม่มีครีบด้าน บน ซึ่งทำให้ว่ายน้ำใต้แผ่นน้ำแข็งของมหาสมุทรอาร์กติกได้โดยง่าย มีครีบที่ช่วยว่ายน้ำเล็กๆ และเป็นรอยบากที่ลึก มีกระดูกคอ 7 ข้อ ที่ไม่เชื่อมต่อกัน และควบคุมการเคลื่อนไหวของคอ
วาฬเบลูกามีฟัน 34 ซี่ ฟันของมันไม่ค่อยเหมาะกับการขบเคี้ยวนัก แต่มีความว่องไวในการฉีกกินเหยื่อ และยังสามารถกลืนเหยื่อลงไปได้ทั้งหมด



การดำน้ำ :Belugas มักจะดำน้ำประมาณ 3-15 นาทีในขณะที่ล่าสัตว์หาอาหาร พวกมันสามารถเดินทางประมาณ 1.5 ไมล์ (2.5 กิโลเมตร) ระหว่างการดำน้ำ และการดำน้ำและมักจะลึกของ 66 ฟุต (20 เมตร) เพื่อเดินทางไปล่าสัตว์ อีกครั้งที่พวกมันสามารถดำน้ำลึกประมาณ 1,300-2,100 ฟุต (400-650 เมตร) หลายครั้ง
การเร่งว่ายน้ำ :Beluga ว่ายน้ำค่อนข้างช้า พวกมัว่ายน้ำได้ความเร็วประมาณ 3-9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  แต่สามารถเร่งความเร็วถึง 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้เวลาเพียงประมาณ 15 นาที
การขยายพันธุ์ :
เมื่อยังเล็กจะดื่มนมแม่ พอโตขึ้นมาก็จะกินสัตว์เล็กๆ กุ้ง หอย ปู ปลา มันกินจุประมาณ 2.5% ถึง 3% ของน้ำหนักตัว




หมีกริซลีย์

หมีกริซลีย์
หมีกริซลีย์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นชนิดย่อยของหมีสีน้ำตาล (U. arctoc)หมีกริซลีย์ จัดได้ว่าเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เมื่อตัวผู้ที่มีขนาดโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักได้ถึง 180-980 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน และยืนด้วยสองขามีความสูงถึง 2.5 เมตร หรือ 3 เมตร


ลักษณะ

หมีกริซลีย์ มีรูปร่างและสีขนทั่วไปเหมือนกับหมีสีน้ำตาลทั่วไป แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ หมีกริซลีย์จะมีขนาดรูปร่างและน้ำหนักใหญ่กว่ามาก มีส่วนจมูกและปากที่ยื่นแหลมออกมา และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากตรงบริเวณระหว่างหัวไหล่ของขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ที่ปูดเป็นหนอกขึ้นมา ซึ่งไม่มีในหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งทำให้หมีกริซลีย์มีพละกำลังในการขุด, ตะปบ, ปีนป่าย และวิ่ง ซึ่งความเร็วในการวิ่งเร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีเล็บนิ้วยาวและแข็งแรง แหลมคม ซึ่งมีความยาวพอ ๆ กับนิ้วมือมนุษย์


อาหาร

หมีกริซลีย์ สามารถกินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืช, ผักผลไม้เป็นอาหาร เช่น ผลไม้จำพวกเบอร์รี แต่อาหารหลักของหมีกริซลีย์แล้วจะเป็นปลา โดยจะลงไปจับในลำธารหรือน้ำตกขณะที่ปลาว่ายผ่าน เช่น ปลาแซลมอน, ปลาเทราต์ หรือปลาเบส แต่ก็สามารถฆ่าและล่าสัตว์ขนาดใหญ่เป็นอาหารได้ด้วย เช่น กวางมูส หรือแม้แต่กระทั่งมนุษย์


แหล่งอาศัย

หมีกริซลีย์ กระจายพันธุ์อยุ่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกา ความใหญ่โตของร่างกายขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ทำให้หมีกริซลีย์ที่อยู่ในประเทศแคนาดาและอะแลสกาจะตัวใหญ่กว่าในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีอาหารที่อุมสมบูรณ์กว่า แต่เมื่อถึงฤดูหนาวก็จะเข้าถ้ำเพื่อจำศีลเช่นเดียวกับหมีทั่วไป ขณะที่ตัวเมียที่ตั้งท้องจะให้กำเนิดลูกในช่วงนี้ ครั้งละไม่เกิน 3 ตัว โดยที่แม่หมีหรือหมีที่จำศีลจะไม่กินอาหารเลย แต่จะใช้พลังงานที่สะสมไว้จากอาหารที่กินเก็บไว้เผื่อก่อนเข้าสู่ฤดูกาลนี้ ซึ่งลูกหมีที่เกิดใหม่ จะมีความยาวราว 8 นิ้ว และไม่มีขนปกคลุมลำตัวเลย ยังไม่มีฟันและลืมตาไม่ได้ ใน 40 วันแรก ลูกหมีจะไม่ทำอะไรเลยนอกจากดูดนมแม่และนอนซุกอยู่กับตัวแม่ และจะมีพัฒนาการขึ้นเรี่อย ๆ ภายในระยะเวลา 1 ปี ลูกหมีจะมีน้ำหนักได้ประมาณ 50 ปอนด์ เมื่อโตได้ที่แล้ว แม่หมีจะพาลูก ๆ ออกจากถ้ำเพื่อหาอาหาร และสอนวิธีการดำรงชีวิตให้
โดยปกติแล้ว หมีกริซลีย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่สันโดษ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือช่วงที่มีลูกอ่อน หรือในช่วงที่อาหารขาดแคลน ซึ่งหมีจะมีความดุร้ายมาก และบุกเข้าทำร้ายและฆ่าผู้รุกรานได้ ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์

วัวมัสค์


วัวมัสค์

เรียกว่าวัว แต่ความจริงเป็นสัตว์ในตระกูลใกล้เคียงกับแกะและแพะเป็นหนึ่งในสัตว์ใหญ่ไม่กี่ชนิดที่สามารถอาศัยอยู่ในดินแดนอาร์กติกได้ตลอดทั้งปีด้วยมีขนชั้นนอกหยาบหนายาวเรี่ยพื้นช่วยป้องกันหิมะและฝนเสริมด้วยขนนุ่มสีน้ำตาลชั้นในคอยรักษาความอบอุ่นให้ร่างกายในฤดูร้อนฝูงวัวมัสก์จะตระเวนหากินแถบพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้แม่น้ำเมื่อเข้าฤดูหนาวพวกมันจะอพยพขึ้นสู่ที่ราบสูงหรือแนวเขาลาดชันที่ลมแรง ไม่มีหิมะสะสมเป็นชั้นหนาทำให้แทะเล็มมอสและไลเคนตามพื้นได้สะดวก
ช่วงศตวรรษ ๑๘๐๐ – ๑๙๐๐ ความนิยมล่าวัวมัสก์แพร่ไปทั่วแถบอะแลสกา ยุโรปตอนเหนือ และไซบีเรีย
เหลือเพียงกรีนแลนด์และทางเหนือของแคนาดาเท่านั้นที่ยังมีวัวมัสก์ชุกชุมแม้ภายหลังจะมีการออกกฎหมายห้ามล่าและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แต่ก็ไม่อาจฟื้นฟูประชากรวัวมัสก์ได้ไม่มากนัก



วันนี้พวกมันโดนคุกคามอีกระลอกจากสภาวะโลกร้อน อากาศแถบอาร์กติกแปรปรวนบ่อยขึ้น
หิมะที่ตกหนัก ยังจะฝนเเยือกแข็ง (freezing rain)
ซึ่งเมื่อไหลซึมชั้นหิมะลงไปจะจับตัวเป็นแผ่นน้ำแข็งหนาคลุมทับแหล่งอาหารสำคัญของวัวมัสก์
ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ สภาวะดังกล่าวทำให้วัวมัสก์อดตายไปแล้วประมาณ ๒ หมื่นตัว
ขณะเดียวกันฤดูร้อนที่อุ่นขึ้นรวดเร็วและยาวนานกว่าเดิม
ทำให้ทากไม่มีเปลือกซึ่งเป็นพาหะของพยาธิปอดสามารถอยู่รอดได้นานขึ้น
ความเสี่ยงที่วัวมัสค์จะรับตัวอ่อนพยาธิปอดในระยะติดต่อซึ่งมากับทาก
ที่ปะปนอยู่ในอาหารของพวกมันจึงมากขึ้นตามไปด้วย
และเมื่อพวกมันอ่อนแอ ก็จะพลาดท่าตกเป็นอาหารของหมีกริซลีได้ง่ายขึ้นด้วย