วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หนูเลมมิ่ง

                                                          เลมมิ่ง (Lemming)                                                                           เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บริเวณใกล้แถบอาร์กติก ลักษณะคล้ายกระรอก กับหนูผสมๆ กัน   ในจินตนาการของผมเลมมิ่งเหมือนเม่นขนปุย
สิ่งที่น่าสนใจกว่าหน้าตาที่น่ารักของตัวเลมมิ่งก็คือ พฤติกรรมของตัวเลมมิ่ง เลมมิ่งเป็นสัตว์สังคม มักอพยพไปเป็นฝูงๆ โดยแต่ละตัวจะเดินตามก้นตัวหน้า (ถ้ามี) นั่นทำให้เลมมิ่งสามารถอพยพเป็นฝูงๆ ได้
แต่ทว่าวิธีการนี้ก็มีข้อเสีย เนื่องจากหากตัวเลมมิ่งตัวหน้ากระโดดเหวตกทะเล เลมมิ่งตัวถัดไป (และตัวถัดๆ ไป) จะกระโดดเหวฆ่าตัวตายตามกันเป็นหมู่ นับว่าเป็นพฤติกรรมที่ประหลาดยิ่งนัก
ไม่ใช่ตัวเลมมิ่งอย่างเดียวที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ มดป่าบางสายพันธุ์ก็มีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย จึงมีบางครั้งที่เราพบกองทัพมดป่าสายพันธุ์นี้อดข้าวตายเนื่องจากเกิดการเดินวนเป็นวงกลมรัศมีประมาณ 2-3 กิโลเมตร นับว่าเป็น DeadLock โดยบังเอิญ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ตัวเลมมิ่งกลับถูกนำมาใช้ความหมายว่า (การกระทำตามความคิดของคนหมู่มากจนทำให้เกิดความล้มเหลว) มักเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่อยู่ดีๆ ก็มีการเทขายหุ้นจำนวนมาก คนที่ถือหุ้นอยู่เกิดตื่นตัวกลัวราคาหุ้นตกลงไปอีก จึงทิ้งหุ้นตาม อาจทำให้ผู้ถือหุ้นนั้นขาดทุน หรืออาจทำให้บริษัทผู้ออกหุ้นนั้น ถึงกับเจ๊งได้
สาเหตุที่ตัวเลมมิ่งเป็นสัญลักษณ์ของพฤติกรรมนี้มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น เพราะเคยมีเกมคอมพิวเตอร์ชื่อ Lemmings ซึ่งผู้เล่นต้องพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ตัวเลมมิ่งเดินตกเหวหรือกัดักได้

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หมาจิ้งจอกอาร์กติก


                                                                หมาจิ้งจอกอาร์กติก
หมาจิ้งจอกอาร์กติก หมาจิ้งจอกขั้วโลก หรือ หมาจิ้งจอกหิมะ (อังกฤษ:  Arctic fox, Snowy fox, Polar fox; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vulpes หรือ Alopex lagopus) เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ทั่วไปในเขตชายผั่งมหาสมุทรอาร์กติก ตลอกจนเขตทุนดราที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง                                 จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกชนิดหนึ่ง ที่มีขนสีขาวเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ช่วยให้ล่าเหยื่อได้ง่าย และสามารถพรางตัวจากศัตรูได้ด้วย

ลักษณะภายนอก
หมาจิ้งจอกอาร์กติกจัดว่าเป็นสัตว์ที่สามารถปรับสภาพให้ดำรงอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดได้ดีชนิดหนึ่ง มีระบบการปรับอุณหภูมิ ที่สามารถควบคุมความร้อนในร่างกายได้ หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะมีใบหน้าที่สั้นกว่าหมาจิ้งจอกชนิดอื่น และมีใบหูที่เล็ก ขนของมันฟูหนา เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน มันจะมีขนอยู่บริเวณอุ้งเท้าเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนัก หรือเกิดพายุ หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะขุดโพรงลึกลงไปใต้หิมะ และขดตัวนอนโดยใช้หางของมันตวัดมาปิดตัวและหน้าไว้คล้ายคนห่มผ้าห่ม และเมื่อฤดูหนาวหมดลง หิมะเริ่มละลาย ต้นไม้เริ่มผลิใบอ่อน หมาจิ้งจอกอาร์กติกเองก็มีการเปลี่ยนแปลง ขนสีขาวของมันจะร่วงลง และมีขนสีเทาอมน้ำตาลขึ้นแทนและจะสั้นกว่าขนในฤดูหนาว ทำให้ตัวมันดูเล็กลง และมีขนาดเท่าแมวบ้านเท่านั้น ในขั้วโลกเหนือฤดูร้อนนั้นสั้นมาก และเมื่อฤดูหนาวกลับมา จิ้งจอกขั้วโลกก็จะเปลี่ยนสีขนกลับไปเป็นขนสีขาวอีกครั้ง เป็นการบอกให้รู้ว่า การต่อสู้กับความหนาวเย็นกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง

ขนาด                                                                                                                                                ความยาววัดตั้งแต่หัวถึงลำตัว เพศผู้ประมาณ 55 เซนติเมตร (22.7 นิ้ว) และเพศเมียยาวประมาณ 53 เซนติเมตร (20.9 นิ้ว) ความยาวของหาง เพศผู้ประมาณ 31 เซนติเมตร (12.2 นิ้ว) และความยาวของหางเพศเมียประมาณ 30 เซนติเมตร (11.8 นิ้ว) ความกว้างของลำตัวจิ้งจอกขั้วโลก ประมาณ 25-30 เซนติเมตร (9.8-11.8 นิ้ว) น้ำหนักโดยประมาณของเพศผู้ ประมาณ 9 ปอนด์ (4.1 กิโลกรัม) ในขณะที่เพศเมียน้ำหนักประมาณ 6-12 ปอนด์ (2.7-5.4 กิโลกรัม)

การออกลูก                                                                                                                                              ในฤดูใบไม้ผลิ ช่วงต้นเดือนกันยายนจนถึงพฤษภาคม ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 52 วัน แม่หมาจะให้กำเนิดลูก โดยครอกหนึ่งจะมีประมาณ 6-7 ตัว ลูกหมาจะเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันก่อนฤดูหนาวจะมาถึง ในช่วงเวลานี้พวกมันจะกินอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมรับมือกับฤดูหนาวที่จะมาถึง หมาจิ้งจอกขั้วโลกจะเก็บอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว เช่น ฝังซากหนูเลมมิ่งไว้ใต้หิมะ, เก็บไข่ไว้ในโพรงหิน บางตัวจะเก็บนกเล็ก ๆ ไว้ถึง 27 ตัว และไข่อีก 40 ฟอง สำหรับฤดูหนาว ลูกหมาอาจจะยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในช่วงแรกจนขนบริเวณอุ้งเท้ามันหนาขึ้นเพื่อช่วยให้เดิน และวิ่งบนพื้นน้ำแข็งได้ในช่วงที่หิมะตกหนัก

การล่าเหยือ                                                                                                                                                ในช่วงที่อากาศดี หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะออกมาหาอาหาร ตามปกติมันจะล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนูเลมมิ่ง, นกกระทาขั้วโลก บางครั้งถ้าโชคดี ก็จะเจอซากสัตว์ที่หมีขั้วโลกกินเหลือทิ้งไว้ ก็จะกินซากนั้น

แมวน้ำลายพิณ

                                                   สัตว์ของขั้วโลกเหนือ(3)
                                                          แมวน้ำลายพิณ
แมวน้ำลายพิณ (อังกฤษ: Harp Seal) เป็น แมวน้ำชนิดหนึ่งมีลายรูปพิณฝรั่ง อยู่กลางหลัง อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ มหาสมุทรอาร์กติก ลูกแมวน้ำลายพิณมีขนฟูสีขาวมักโดนล่าเพื่อนำหนังไปทำเสื้อผ้า ในสหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามนำเข้าขนแมวน้ำสีขาวและผลิตภัณฑ์จากแมวน้ำลายพิณทุกประเภท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

   

                                             9เรื่องที่ควรรู้ของ...แมวน้ำพิณ

1.ขนโปร่งแสง ลูกแมวน้ำพิณแรกเกิดจะมีขนสีเหลืองนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวโพลนในอีก 2 วันต่อมา ขนละเอียดมันวับของมันมีลักษณะโปร่งแสง เพื่อให้แสงแดดสามารถส่องไปโดนผิวหนังได้ ร่างกายจะได้อบอุ่น ลูกแมวน้ำพิณจะมีสีขาวเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น หลังจากนั้นมันจะผลัดขนเป็นสีเทาเหมือนขนของพ่อแม่ ช่วงที่มีขนขาวจึงเป็นช่วงอันตรายที่สุด เพราะมนุษย์จะตามล่าเพื่อถลกขนขาวๆ ของมันไปทำเป็นเสื้อหนาว

2.โตเต็มวัยใน 2 สัปดาห์ ลูกแมวน้ำพิณโตไวทันใจเพราะได้ดื่มนมแม่ที่มีสารอาหารเข้มข้นกว่านมวัวถึง 10 เท่า ช่วง 2 สัปดาห์แรกน้ำหนักตัวของมันจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ชั้นไขมันใต้ผิวหนังจะหนาเป็นนิ้ว เมื่อยามแม่ทิ้งให้หากินเองมันจึงมีพลัง และความอบอุ่นเพียงพอที่จะเอาตัวรอดได้ ภายในเดือนเดียวลูกแมวน้ำพิณจะรู้วิธีว่ายน้ำ และหาอาหารมาประทังชีวิต 3.เดินทางไกล 6,000 ไมล์
ทุกๆ ปี แมวน้ำพิณอพยพย้ายถิ่นไปกลับเป็นระยะทางกว่า 6,000 ไมล์ โดยช่วงฤดูร้อนจะ
หากินอยู่ในทะเลอาร์กติกตอนเหนือ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ก็จะอพยพลงใต้ไปเลี้ยงลูก
กันที่อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ในแคนาดามันจะทยอยว่ายน้ำไปด้วยกันเป็นฝูงๆ เล็กๆ ไม่เกิน 20 ตัว แต่
เมื่อมากันครบหน้า ลานน้ำแข็งของอ่าวเซนต์ลอเรนซ์จะมีแมวน้ำแน่นขนัดนับล้านๆ ตัว
พวกมันจะตกลูกและอยู่กับลูกประมาณ 1 เดือนจึงย้ายกลับไปหากินทางเหนืออีกครั้ง
3.ปาร์ตี้ใต้ลานน้ำแข็ง
ช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึงตี 5 เป็นช่วงเวลาแห่งการปาร์ตี้ของแมวน้ำพิณ โดยจะลงไปสังสรรค์กันใต้ลานน้ำแข็ง ผู้เชี่ยวชาญเคยแอบดักฟังการสนทนาของแมวน้ำพิณ โดยใช้สว่านเจาะน้ำแข็งเป็นโพรงแล้วสอดเทปบันทึกเสียงลงไปใต้น้ำ ปรากฏว่าเสียงที่บันทึกได้เป็นเสียงที่อึกทึกของแมวน้ำนับหมื่นๆ ตัว ที่แย่งกันพูดแบบไม่มีใครฟังใคร
4.แกล้งตาย ลูกแมวน้ำพิณมีลูกเล่นที่ช่วยเอาชีวิตรอดจากหมีขั้วโลกได้ในยามคับขันนั่นคือ การแกล้งตาย ขนสีขาวฟูของมันดูกลมกลืนกับหิมะขาวโพลนบนพื้น ดังนั้น มันจึงนอนแน่นิ่ง หดหัวซ่อนไว้ข้างใต้เพื่อให้แลดูคล้ายกองหิมะ หัวใจที่เคยเต้น 80-90 ครั้งต่อนาทีจะลดเหลือเพียง 20-30 ครั้งต่อนาที ถ้าลูกเล่นนี้ได้ผล หมีขั้วโลกก็จะมองข้ามไป แล้วเร่ไปหาอาหารทางอื่น ลูกแมวน้ำพิณจึงค่อยนอนเหยียดสบายใจอีกครั้ง
5.ดำน้ำลึก
ปกติแมวน้ำพิณจะกลั้นหายใจได้ราว 5 นาที แต่ถ้าจำเป็นมันก็สามารถกลั้นหายใจได้นานถึง 20 นาที และดำน้ำได้ลึกถึง 800 ฟุต ซึ่งลึกกว่านักประดาน้ำถึง  6 เท่า ซ้ำยังดำน้ำได้เร็วมาก ใช้เวลาแค่ 15 วินาทีต่อความลึก 100 ฟุต แต่มันก็ต้องคอยหลบวาฬออร์กาและฉลามดีๆ ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์ถูกจับกินเป็นอาหารได้ทันที
6.แปลงกายดั่งร่ายมนตร์
แมวน้ำพิณแปลงร่างอย่างรวดเร็ว จากขนสีเหลืองนวลเมื่อตอนแรกเกิด เป็นขนสีขาวโพลนในตอน 2  สัปดาห์แรก จากนั้นก็จะแปลงร่างเป็นแมวน้ำขนสีเทาหม่นๆ พออายุได้ 4 ปี ขนก็จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินมีลายจุดประปรายตามตัว ทำให้คนเรียกมันว่า แมวน้ำลายจุด แมวน้ำตัวเมียบางตัวจะคงลักษณะเช่นนี้ไปจนตาย แต่ตัวผู้และตัวเมียส่วนใหญ่จะแปลงร่างอีกครั้ง โดยสร้างลายสีดำคล้ายรูปพิณที่บริเวณหลัง ทำให้ได้ชื่อว่า "แมวน้ำพิณ"
7.จมูกไว
แม่แมวน้ำพิณจะดมกลิ่นลูกและจดจำเอาไว้ตั้งแต่แรกเกิด พอมันทิ้งลูกไปลงน้ำสังสรรค์กับพวกแล้วกลับมาให้ลูกกินนม ก็จะใช้วิธีดมกลิ่นหาลูกจนเจอ ลูกแมวน้ำที่นอนเกลื่อนพื้นนับหมื่นๆ ตัว จึงไม่เคยพลัดหลงกับแม่ เพราะแม่จำกลิ่นของมันได้เสมอ
8.คุยกันอย่างสุภาพ แมวน้ำส่งเสียงคุยกันในโทนเสียงต่างๆ อาทิ เสียงแหลม เสียงทุ้ม เสียงกระซิบ ที่น่าสนใจก็คือ คู่สนทนาจะผลัดกันพูดและหยุดพูดเพื่อรับฟังกันและกันอย่างสุภาพ
9.ยังไม่รู้ชะตาในอนาคต เดิมทีลูกแมวน้ำพิณเคยถูกล่าอย่างทารุณ เพื่อถลกหนังไปขาย ปัจจุบันมันได้รับการคุ้มครองอย่างดี ทำให้จำนวนประชากรแมวน้ำพิณคงที่อยู่ที่ 8 ล้านตัวทั่วโลก ทว่า อนาคตยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะภาวะโลกร้อนกำลังเป็นมหันตภัยใหม่ที่คุกคามโลก และส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของแมวน้ำพิณโดยตรง

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นกแพนกวิน

                                                            สัตว์ของขั้วโลกเหนือ(2)
                                                                    นกแพนกวิน
ลักษณะและพฤติกรรม
เพนกวินมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณซีกโลกทางใต้หรือขั้วโลกใต้ เป็นนกที่บินไม่ได้ มีลักษณะเด่นคือ มีขนสีดำที่ด้านหลัง และขนสีขาวที่ด้านหน้าท้อง ซึ่งช่วยป้องกันเพนกวินจากสัตว์นักล่าต่าง ๆ เวลาว่ายน้ำ ปีกของเพนกวินมีลักษณะคล้ายครีบปลา ช่วยในการว่ายน้ำ แต่ไม่สามารถใช้ปีกในการบินเหมือนนกทั่วไป เพนกวินไม่สามารถหายใจในน้ำได้แต่สามารถกลั้นหายใจได้นานมากในน้ำ ร้อยละ 75 ของชีวิตเพนกวินจะอาศัยในน้ำ เพนกวินสามารถว่ายน้ำได้เร็วเฉลี่ยประมาณ 22- 24 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 250 เมตร ตีนของเพนกวินเป็นพังผืดเหมือนตีนเป็ด ใช้ได้ดีเวลาว่ายน้ำหรือดำน้ำ แต่เมื่อเดินบนบกแล้ว เพนกวินจะเดินตัวตรง แต่จะทำให้เดินอย่างช้า ๆ ซึ่งเพนกวินมีวิธีการเคลื่อนที่บนบกที่เร็วกว่าและใช้ได้ผลดีกว่าการเดิน นั่นคือ การไถลตัวไปตามทางลาดชันหรือพื้นที่ลื่นเป็นน้ำแข็ง
เพนกวินออกลูกเป็นไข่ เมื่อเพนกวินตัวเมียออกลูกจะให้ตัวผู้กกไข่ ส่วนตัวเมียจะออกไปหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, ครัสเตเชียน หรือหมึก ลูกเพนกวินแรกเกิดจะมีขนสีเทา เมื่อโตขึ้นขนสีเทาจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำที่ด้านหลัง และขนสีขาวที่ด้านหน้าท้อง เพนกวินจะมีพฤติกรรมการทำรังที่ต่างออกไปตามแต่ละชนิด บางชนิดทำรังใกล้ทะเล แต่บางชนิดทำรังในป่ามะเลาะ หรือพื้นที่ในชุมชนของมนุษย์ เช่น ใต้ถุนบ้าน หรือในสวนหลังบ้าน ก็มี เพนกวินทุกชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาว ทำให้เพนกวินต้องมีชั้นไขมันที่หนาเพื่อช่วยในการกักเก็บความร้อนจากร่างกาย และเป็นอาหารในช่วงที่คลาดแคลน ขนของเพนกวินมี 2 ชั้น ชั้นในทำหน้าที่เหมือนขนของนกทั่วไป ส่วนชั้นนอกจะมีไขมันเคลือบไว้ เพื่อป้องกันน้ำ ความหนาวเย็น และลมหนาวจากภายนอก เพนกวินจะผลัดขนปีละครั้ง ขนที่เก่าและเสียหายจะหลุดออก และขนใหม่จะขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพนกวิน มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี แต่บางชนิดก็อาจมีอายุที่ยาวกว่านั้น ทุกชนิดจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่คล้ายนิคม ในบางครั้งอาจมีการรวมฝูงกันมากถึงจำนวนนับแสนหรือล้านตัว เพนกวินเป็นนกที่บินไม่ได้ แต่สามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วมาก ซึ่งเพนกวินจะตกเป็นอาหารของสัตว์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น วาฬออร์กา, แมวน้ำเสือดาว เป็นต้น
เพนกวิน เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งตรงกับปลายปีของเวลาในซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อากาศยังอบอุ่นและยังหาอาหารกินได้ เพนกวินจะออกไข่และฟักให้เป็นตัวในช่วงนี้ และจะเร่งเลี้ยงดูลูกให้เติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูที่ทั้งพื้นดินและทะเลในซีกโลกทางใต้เป็นน้ำแข็งทั้งหมด และเป็นฤดูกาลที่ยาวนานมาก เพนกวินบางชนิด อย่างเพนกวินจักรพรรดิ (Aptenodytes forsteri) ซึ่งเป็นเพนกวินชนิดที่ใหญ่ที่สุด ในเพศผู้อาจมีน้ำหนักตัวมากได้ถึง 40 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการเตรียมตัวสำรองพลังงานอาหารไว้เพื่อรอรับกับฤดูหนาว
นอกจากนี้แล้ว ยังมีข้อมูลจากการบันทึกโดยนักสำรวจขั้วโลกใต้ชาวอังกฤษในปี ค.ศ. 1910 ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมเพนกวินที่อาเดลีแลนด์ พบว่า มีพฤติกรรมทางเพศที่แปลกประหลาดมาก โดยมีการพบการรักร่วมเพศ, การข่มขืน, การผสมพันธุ์โดยไม่หวังการสืบพันธุ์ รวมถึงการผสมพันธุ์กับซากเพนกวินเพศเมียที่ตายไปนานแล้วด้วย
เหตุที่เพนกวินไม่สามารถบินได้ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นเพราะความสามารถที่ดีในการว่ายน้ำและดำน้ำ จึงทำให้ปีกของเพนกวินไม่สามารถใช้ในการบินได้ เพราะการว่ายน้ำและดำน้ำใช้พลังงานที่น้อยกว่า ความสามารถในการบินก็ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการวิจัยจากนกทะเลชนิดอื่นที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับเพนกวินมากที่สุด เช่น นกทะเลปากยาว


วิวัฒนาการ

บรรพบุรุษของเพนกวิน เป็นนกที่ปีกไม่สามารถบินได้ แต่กลับว่ายน้ำได้คล่องแคล่วที่มีชื่อว่า "ไวมานู" ที่มีชีวิตอยู่ในยุคพาลีโอซีน ประมาณ 62 ล้านปีก่อน ซึ่งฟอสซิลของไวมานู ปัจจุบันพบได้ที่นิวซีแลนด์ ไวมานูมีรูปร่างที่เพรียวยาวแตกต่างจากเพนกวินในปัจจุบันมาก
สำหรับเพนกวินในยุคปัจจุบันเป็นนกที่ถือกำเนิดมานานกว่า 40 ล้านปีก่อนจากการศึกษาไมโตคอนเครียและดีเอ็นเอพบว่า เพนกวินสกุล Aptenodytes ซึ่งเป็นเพนกวินชนิดที่ใหญ่ที่สุด เป็นต้นสายพันธุ์ของเพนกวินทั้งหมดในปัจจุบัน ก่อนที่แต่ละสกุลหรือชนิดจะแยกสายวิวัฒนาการของตัวเองขึ้นมา



ความสัมพันธ์กับมนุษย์

เพนกวินเป็นนกที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในด้านต่าง ๆ มากมาย ในอดีตเป็นนกที่มนุษย์ล่าเพื่อเอาเนื้อมาบริโภค แต่ในปัจจุบันเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้แสดงตามสวนสัตว์หรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก (โดยมากจะเป็นเพนกวินฮัมโบลด์) โดยสถานที่เลี้ยงเพนกวินที่มีจำนวนมากที่สุด                    คือ   โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
และถึงถูกอ้างอิงถึงในสัญลักษณ์หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ เช่น เป็นสัญลักษณ์ของลีนุกซ์, เป็นตัวละครฝ่ายร้ายในการ์ตูนชุด Batman ของดีซี คอมิคส์ ที่ชื่อ Penguin ที่มีต้นแบบมาจากเพนกวินจักรพรรดิ เป็นต้น[1

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หมีขั้วโลก

                                                          สัตว์ของขั้วโลกเหนือ(1)
                                                       หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก
ลักษณะและที่อยู่อาศัย
   หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากหมีกริซลีย์                    (U. arctos horribilis) (บางข้อมูลจัดให้เป็นที่ 1) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ตัวผู้เต็มวัยอาจสูงได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักตัวอาจมากได้ถึง 350–680 กิโลกรัม (770–1,500 ปอนด์) หมีขาวมีรูปร่างที่แตกต่างจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีส่วนคอที่ยาวกว่า ขณะที่ใบหูก็มีขนาดเล็ก อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ และที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด คือ สีขนที่เป็นสีขาวครีมอมเหลืองอ่อน ๆ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เนื่องจากผลของเกลือในน้ำทะเล ซึ่งขนสีครีมนี้ทำให้พรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็งได้เป็นอย่างดี
หมีขาวกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะซีกโลกทางเหนือ บริเวณขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติกเท่านั้น จัดได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกนี้ อุ้งเท้าของหมีขาวมีขนรองช่วยให้ไม่ลื่นไถลไปกับความลื่นของพื้นน้ำแข็ง หมีขาวถือเป็นสัตว์ที่เดินทางไกลมาก โดยบางครั้งอาจจะใช้วิธีการนั่งบนแผ่นหรือก้อนน้ำแข็งลอยตามน้ำไป หรือไม่ก็ว่ายน้ำหรือดำน้ำไป ซึ่งหมีขาวจัดเป็นหมีที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมาก โดยใช้ขาหน้าพุ้ย หรือบางครั้งก็ใช้ทั้ง 4 ขา เคยมีผู้พบหมีขาวว่ายอยู่ในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 200 ไมล์
หมีขาว เป็นหมีที่ถือได้ว่ากินอาหารมากกว่าหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาหารของหมีขาวมีมากมาย เช่น แมวน้ำ หรือ วอลรัส ด้วยการย่องเข้าไปเงียบ ๆ หรือหลบซ่อนตัวตามก้อนหินหรือก้อนน้ำแข็ง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังอาจจับนกทะเล ทั้งไข่และลูกนก บางครั้งก็จับปลากิน หรืออาจจะกินซากของวาฬที่ตายเกยตื้น หรือแม้แต่ซากหมีขาวด้วยกันหรือลูกหมีที่ตายได้ด้วย

     

วิถีชีวิต

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวในเขตอาร์กติก (ราวเดือนธันวาคม-มกราคม) ดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ คล้อยต่ำลงเรื่อย ๆ จนไม่ปรากฏอีกเลยที่เส้นขอบฟ้าตลอดฤดูกาล ซึ่งช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นช่วงที่หฤโหดที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะไม่มีแสงสว่าง กลางวันจะมืดเหมือนกลางคืน อาหารก็ขาดแคลน พร้อมด้วยพายุหิมะติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน
หมีขาว ในช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่ให้กำเนิดลูก โดยการขุดโพรงในน้ำแข็งหรือใต้ก้อนหิน เมื่อหิมะตกทับถมมา ผนังถ้ำจะหนาขึ้น และมีความอบอุ่นคล้ายกับอิกลูของชาวเอสกิโม แม่หมีจะคลอดลูกภายในถ้ำนั้น ลูกหมีเกิดใหม่จะมีความยาวราว 20 นิ้วเท่านั้น และมีน้ำหนักตัวไม่ถึงกิโลกรัมดี ซึ่งครั้งหนึ่ง แม่หมีจะออกลูกได้ราว 2 ตัว ในบางครั้งอาจมากถึง 4 ตัว ลูกหมีเกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม และยังไม่มีขนปกคลุมตามลำตัว และจะลืมตาได้เมื่ออายุราว 33 วัน แต่เลนส์ตาจะยังใช้การไม่ได้เต็มที่จนเมื่อมีอายุประมาณ 47 วัน และประสาทหูจะได้ยินเมื่ออายุ 26 วัน แต่จะใช้การได้ดีที่สุดเมื่ออายุได้ 3 เดือน เมื่อลูกหมีอายุเข้า 6 สัปดาห์ครึ่ง ก็ตรงกับช่วงระยะเวลาที่ผ่านพ้นฤดูหนาวพอดี
สำหรับแม่หมีในช่วงนี้จะไม่กินอาหารเลย แต่จะใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ แม้กระทั่งหมีตัวผู้ก็จะเข้าสู่ถ้ำเพื่อจำศีล เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว หิมะและน้ำแข็งเริ่มละลาย แสงแดดกลับมาอีกครั้ง (เดือนมีนาคม-เมษายน) ซึ่งในช่วงนี้ หมีตัวเต็มวัยอาจจะกินหญ้าหรือมอสส์ เป็นอาหารรองท้องได้ ลูกหมีจะหย่านม แม่หมีจะพาลูก ๆ ตระเวนไปในที่ต่าง ๆ เพื่อสอนวิธีการล่าเหยื่อให้ ลูกหมีจะอยู่กับแม่จนอายุได้ขวบกว่าหรือสองขวบ จากนั้นจะจากแม่ไปเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

 


สัญลักษณ์

หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศรัสเซียลูกหมีขั้วโลก